ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกของ Prakaidao ได้เเล้วค่ะ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



.ความเป็นมา
        หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิต” เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
.ประวัติผู้แต่ง
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภททรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
.ลักษณะคำประพันธ์
          หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมาย โดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับในเรื่องดังนี้
 .หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ ๑ วันที่ ๒๓ กันยายน พ.๒๔๖- จนถึงฉบับสุดท้าย วันที่ ๓0มีนาคม พ.๒๔๖- จะเห็นว่ามีการเว้นท้ายปี พ..ไว้                                    
 .คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง ๑๘ ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “พ่อประเสริฐเพื่อนรัก

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556






ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ (สังเกตจากแผนผัง)
. บทหนึ่งมี ๔ บรรทัด
๒. วรรคหน้าของทุกบรรทัด มี ๕ พยางค์ วรรคหลังของบรรทัดที่ ๑ - ๓ มี ๒ พยางค์
บรรทัดที่ ๔ มี ๔ พยางค์ สามารถท่องจำนวนพยางค์ได้ดังนี้

ห้า -สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า- สอง
ห้า - สอง (สร้อย ๒ พยางค์ มักลงท้ายด้วย นา แฮ เฮย เพื่อรับคำ ต่อคำ เชื่อมคำ )
ห้า - สี่ (หากจะให้เกิดความไพเราะในการอ่านนิยมลงเสียงจัตวา)
๓. มีตำแหน่งสัมผัสตามเส้นโยง
๔. บังคับรูปวรรณยุกต์ เอก ๗ โท ๔ ตามตำแหน่งในแผนผัง



วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




                 ความเป็นมา
             บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติผู้แต่ง
             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
             นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา  การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ
ลักษณะคำประพันธ์


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



      มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด  ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆครบถ้วนทั้ง 10 ประการ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาชาติ" และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรืก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติมหาเวสสันดรชาดก


 ที่มาของมหาเวสสันดรชาดก

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556




     มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ใน ปี พ.ศ. ๒๔๖๖  คำ "มงคล" หมายความถึงเหตุทั้งหลายอันจะทำให้บรรลุถึงความเจริญแห่งสมบัติทั้งปวงหรืออาจแปลให้ง่ายว่า เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้า หรือทางก้าวหน้านั่นเอง
     มงคลสูตร เป็นพระสูตรในพระพุทธศาสนา มีที่มาจากพระไตรปิฏก พุทธศาสนิกชนไทยรู้จักกันดี
ในเวลาที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคลทั่วไป จะต้องสวดบทมงคลสูตรเสมือน
โดยปกติเมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์มาถึงบทมงคลสูตร องค์ที่เป็นประธานจะเริ่มหยดเทียนลงใน
ขันน้ำพระพุทธมนต์สำหรับใช้พรม เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสิริมงคลตามคตินิยม ทั้งนี้เพราะเนื้อความในมงคลสูตรกล่าวถึงมงคล ๓๘ ประการ
รูปแบบคำประพันธ์ แต่งด้วยอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ และกาพย์ฉบัง ๑๖